--Advertisement--





มารู้จักกับกระเบื้องว่าวบนหลังคากันเถอะ


รู้จักกับกระเบื้องว่าวบนหลังคา ใครที่นึกภาพกระเบื้องว่าวไม่ออก ให้นึกถึงกระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เมื่อมุงเสร็จแล้ว ตาเรามองขึ้นไปที่ผิวหลังคาจะเห็นเป็นลายข้าวหลามตัดเรียงสวยงามมาก สมัยก่อนนิยมใช้มาก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และนิยมใช้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

การผลิตกระเบื้องว่าวดั้งเดิมแล้ว เขาจะทำด้วยเทคโนโลยีท้องถิ่น หรือเรียกง่ายๆ ว่า " กระเบื้องว่าวดินเผา " เช่น แถวด่านเกวียน วัสดุที่ใช้ทำ ใช้ดินเป็นส่วนประกอบหลักในการทำครับ เนื้อของกระเบื้องว่าวก็เป็นวัสดุเดียวกันกับที่ใช้ทำกระเบื้องดินเผาปูพื้นนั่นเอง แต่แค่เปลี่ยนรูปแบบการทำมาเป็นใช้มุงหลังคา ขึ้นรูปแล้วเข้าเตาเผาออกมา ซึ่งส่วนใหญ่จะออกมาในสีออกน้ำตาลเคลือบมัน ( ถ้าจะเอาแบบไม่เคลือบ หรือ ผิวด้านต้องสั่งพิเศษครับ )

ส่วน กระเบื้องว่าวซีกรีต คือ การผลิตกระเบื้องว่าวอีกแบบที่พัฒนาขึ้นในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งต่างกันที่การใช้วัสดุที่ทำ " กระเบื้องว่าว " กระเบื้องว่าวกลุ่มนี้ ผลิตโดยใช้ " ซีเมนต์ " เป็นวัสดุหลัก และใช้เครื่องจักรไฮโดรลิคกำลังสูงสำหรับการขึ้นรูปกระเบื้อง มาช่วยสร้างมาตรฐานในการผลิตให้สูงขึ้น และมีขนาดกระเบื้องเท่าๆกัน ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานที่ต้องการคุณภาพมากขึ้นพร้อมๆไปกับความสวยงาม ข้อควรระวังของกระเบื้องว่าว คือ มีข้อจำกัด และรายละเอียดที่ต้องพิถีพิถัน...ในการมุงมากกว่า

กระเบื้องว่าว cecrete.co.th

เหตผลแรกอยู่ตรงเนื้อวัสดุที่ใช้ทำดั้งเดิมนั่นเองครับ หากเป็นกระเบื้องว่าวด่านเกวียน หรือกระเบื้องว่าวดินเผาสมัยก่อนที่ใช้ " ดินเหนียว" เป็นวัสดุหลักในการทำ ตัวเนื้อดินเองจะส่งผลต่อตัวหลังคาค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องอมน้ำ อมความชื้น การบิดเบี้ยวของแต่ละแผ่น

แต่ข้อดีคือราคาต่อแผ่นถูก งบประมาณอาจถึงครึ่งต่อครึ่ง หลายๆคนจึงมักนิยมเริ่มต้นปูกระเบื้องว่าวด้วยวิธีนี้ ซึ่งก็ต้องยอมรับข้อเสียคคือ ความไม่สม่ำเสมอของวัสดุ ย่อม ทำให้เกิดปัญหาการปู และรั่วซึมได้ง่าย

ปัจจัยหลักที่ตัวกระ เบื้องจะอมน้ำหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญ คือ "ระบบการอัดและการเผา"
ถามว่าทำไม เหตุผลก็คือถ้าแรงอัดที่ใช้ทำนั้นไม่ "สูง" พอ เนื้อของกระเบื้องว่าวก็จะเหลือช่องความพรุนสูง เยอะ

ดังนั้นน้ำฝน – ความชื้นก็จะแทรกซึมลงไปในเนื้อกระเบื้องได้มากเป็นอัตราส่วนตามเช่นกัน

นี่เอง เป็นเหตุผลว่า ทำไมกระเบื้องว่าวด่านเกวียนหรือจากที่อื่นๆ ที่ใช้ดินเป็นวัสดุ จึงต้อง " เคลือบมัน " อีกครั้งหนึ่ง เพราะถ้าเป็นรุ่นไม่เคลือบ เวลาฝนตกตัวกระเบื้องจะอมความชื้น หลังฝนตกพอแดดออกจะมองเห็นร่องรอยความชื้นด่างๆ ในชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะหายไปในที่สุดก็จริง แต่ความชื้นที่หลงเหลือและฝังตัวอยู่จะทำให้เกิดราดำบนตัวผืนหลังคา

กระเบื้องว่าวสมัยใหม่ที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมของ cecrete จึงปรับปรุงวิธีการผลิต โดยใช้ ซีเมนต์ และเครื่องจักรอัดไฮโดรลิคแรงสูง เพื่อชดเชยข้อด้อยของการผลิตเดิม ทำให้รูพรุนของกระเบื้องน้อยลง และอัตราการดูดซึมน้อยกว่า 10% หรือเพียง 6-7 % เท่านั้น เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้มีแรงกดมากกว่า 100 ตัน / ตรม. และทำให้ขนาดของกระเบื้องว่าวได้มาตรฐานเท่ากัน ไม่มีส่วนบิดเบี้ยวของแต่ละแผ่น เหมือนการผลิตแบบเดิม แต่ต้นทุนที่สูงขึ้น ก็ทำให้ราคาต่อแผ่นสูงขึ้นด้วย แต่ก็คุ้มค่า เมื่อพูดถึงคุณสมบัติการใช้งาน โดยเฉพาะการทำคันกันน้ำย้อนที่มีขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกแผ่น ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของข้อที่สอง

เหตุผลข้อที่สอง ระบบ "กันรั่ว" หรือ "คันกันน้ำย้อน" คือ ร่องสันที่ใต้กระเบื้อง ซึ่งมีไว้ดัก หรือ ไว้กันน้ำฝนย้อนเข้านั่นเอง  คันน้ำนี้ จำเป็นต้องมี เนื่องจากรูปทรงกระเบื้องว่าวเองส่งผลให้จุดที่จะต้องเจอน้ำฝนเข้ามาเยอะกว่ากระเบื้องชนิดอื่น เพราะมันทับซ้อนถึง 3 ทาง จึงต้องเจอการเข้ามาของน้ำฝนถึง 3 ทาง เช่นกัน คือ ด้านล่าง 1 และด้านข้างอีก 2 ทาง เป็น 3 ทาง ถ้าเป็นกระเบื้องชนิดอื่นจะเจอทางเดียว คือ ด้านล่างของแผ่น ตรงนี้เองจึงเป็นจุดที่จะสร้างความปวดหัวให้ผู้ใช้ได้ เพราะถ้าไม่พิถีพิถันกับการมุง หรือไม่รู้วิธีมุงที่ถูกต้อง หรือเอาวิธ๊การมุงกระเบื้องทั่วไปมาใช้แล้ว จะรั่วซึมได้ง่ายกว่ากระเบื้องชนิดอื่นมาก

กระเบื้องว่าว thaicontractors.com

ผู้ใช้จึงต้องรู้ข้อบังคับหลักๆของการปูกระเบื้อง เช่น

องศาความลาดชันของการปู สูงกว่าการปูกระเบื้องแบบอื่น
(นี่คือเหตุผลที่ช่างมุงทั่วไปที่ไม่มีประสบการณ์ไม่ทราบ)
ควรใช้ "วัสดุรอง" มารองด้านล่างไว้ก่อน คล้ายๆ ปูวัสดุที่ทึบตันรองด้านล่างรับไว้เลย สำหรับช่างปูที่ไม่มีประสบการณ์การปูกระเบื้องว่าวมาก่อน การออกแแบบของ " บ้าน "ต้องเหมาะกับอารมณ์ตามรูปลักษณ์กระเบื้องว่าวด้วย เพราะกระเบื้องว่าวมีลักษณะเฉพาะตัวสูง ที่จริงแล้วรูปแบบการปูกระเบื้องว่าวตามแบบโบราณนั้น เป็นวิธีและเทคนิคสำคัญที่ทำให้การปูกระเบื้องว่าวสวยงามและดูแลรักษาได้ง่ายและรายละเอียดแบบนี้ เป็นความรู้ที่ต้องทำการบ้านก่อนเท่านั้นเอง ถ้าปูแบบทั่วๆไป โดยที่ไม่ทราบข้อบังคับหลักๆในการปูก็จะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ฯลฯ

แต่ขณะเดียวกันการที่กระเบื้องว่าว จะต้องมีความพิถีพิถันในการปูสูง แต่ด้วยเอกลักษณ์ของกระเบื้อง และรูปแบบซึ่งเป็น sign ของความย้อนยุค ที่ให้ความรู้สึกพิเศษ เมื่อผนวกรวมกับดีไซน์ของอาคารในสไตล์ที่เลือกใช้กระเบื้องว่าวแล้ว มักจะให้กลิ่นอายความคลาสสิคเฉพาะ กระเบื้องว่าวจึงยังคงได้รับความนิยมอยู่ตลอดข้ามยุคสมัยตลอดมา

กระเบื้องว่าว ความเป็นมาของกระเบื้องว่าวมุงหลังคา
การผลิตกระเบื้องว่าวมุงหลังคา ที่ผลิตโดยระบบปูน-ทรายเปียก ( Wet Mixture) เป็นวิวัฒนาการผลิตกระเบื้อง ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาดัดแปลงมาจากการผลิตระบบปูน-ทรายแห้ง ( Dry Mixture) ของประเทศทางตะวันตก จนกลายเป็นระบบการผลิตที่นิยมมาก ในประเทศญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งการตลาดไม่น้อยกว่า 90% ของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และมีเครื่องจักรที่ใช้ทำการผลิตกระจายอยู่ทั่วประเทศ บริษัทสินพงศธรจำกัด เป็นบริษัทผลิตกระเบื้องตั้งแต่ปี 2453 และเป็นบริษัทแรกที่นำเครื่องจักรและขบวนการผลิตนี้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 และต่อมาได้พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นผู้ผลิตเครื่องจักร เพื่อการจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศข้างเคียงภายใต้ชื่อ TITAN นอกจากนั้นยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้อง ในยี่ห้อ ซีกรีต Cecrete ซึ่งหมายถึงกระเบื้องคอนกรีตอัดแรงโดยเครื่องจักรที่ทันสมัยเจ้าแรกของประเทศไทย

คุณสมบัติของกระเบื้องว่าว
กระเบื้องว่าวที่ผ่านขบวนการผลิตระบบ ปูน-ทรายเปียก (Wet Mixture) จะมีคุณภาพของกระเบื้องว่าวสูงกว่าการผลิตในระบบ ปูน-ทรายแห้ง (Dry Mixture) เนื่องจากองค์ประกอบที่แตกต่างกันสองประการคือ

(1) การคลุกเคล้าของปูน-ทรายที่เป็นส่วนผสมหลักในการผลิตกระเบื้องว่าว ในกระบวนการผลิตระบบเปียก สามารถคลุกเคล้าได้ทั่วถึงกว่าระบบแห้ง อีกทั้งเครื่องที่ใช้ผสมปูน-ทรายก็ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษโดยมีลูกกลิ้ง (Roller) ขนาดใหญ่บดทับให้ปูนแตกตัวออกมาคลุกเคล้ากับทรายได้เกือบครบทุกอนุภาคของปูน

(2) ในงานคอนกรีต ดัชนีตัวหนึ่งที่ชี้วัดความแข็งแรงของชิ้นงานของกระเบื้องว่าวได้คือ อัตราการดูดซึมน้ำภายหลังจากที่ปูนแข็งตัวแล้ว ซึ่งจะต้องไม่เกิน 10% ของน้ำหนักตัวของมันเองในขณะที่แห้งสนิท

ในกระบวนการผลิตระบบเปียก กระเบื้องว่าวทุกแผ่นจะต้องผ่านเครื่องอัดไฮดรอลิคกำลังสูง มีแรงอัดที่กดทับลงบนกระเบื้องว่าวแต่ละแผ่นไม่ต่ำกว่า 100 ตัน ทำให้ได้เนื้อกระเบื้องว่าวที่แน่นแข็ง ไม่มีโพรงอากาศ ( Air Gap) กักอยู่ภายใน โดยสามารถวัดอัตราการซึมน้ำได้เพียง 6%-8% ........JIS A5402-1960 เป็นมาตรฐานการผลิตของกระเบื้องระบบปูน-ทรายเปียก (Wet Mixture) ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากในประเทศไทย กระเบื้องทั่วไปไม่มีมาตรฐานรองรับ หรือข้อกำหนดที่แน่นอน ทางบริษัทสินพงศธร จึงเลือกใช้เป็นบรรทัดฐานในการผลิต เพื่อรองรับความมั่นใจของผู้ใช้

กระเบื้องว่าว sivilaibrick.com

รายละเอียดการมุงกระเบื้องว่าวอัดแรง
คุณสมบัติ ของกระเบื้องว่าว
- กระเบื้องว่าวทุกชิ้น ผลิตด้วยระบบปูนทราย ผสมเปียก (Wet mixed System)แล้วอัดด้วยเครื่องไฮดรอลิคแรงอัดสูง
- กระเบื้องว่าวทุกแผ่นมีคันกันน้ำย้อน
- กระเบื้องว่าวทุกแผ่นเคลือบด้วยสีอะครีลิก หรืออะครีลิกยูรีเทน ทนการกัดเซาะของฝนกรด (Acid rain)

ที่มา cecrete.co.th



Labels: , ,


Leave A Comment:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...